วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คนพาลกับบัณฑิต

              คนพาล คือ คนโง่ ไม่มีปัญญา ไม่รู้จักประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ไม่รู้จักพระสัทธรรม
              บัณฑิต คือผู้มีปัญญา ผู้ทรงความรู้ นักปราชญ์ ที่แสวงหาประโยชน์เพื่อความถูกต้องและดีงาม เป็นไปเพื่อฝึกฝนอบรมตนเอง และผู้ประสงค์จะทำความดีตามแนวทางที่พุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ ให้เราได้ศึกษาประพฤติปฏิบัติตาม
                การที่ใครจะเป็นคนพาล หรือบัณฑิตนั้นคงจะต้องตรวจสอบกันหน้าดูว่าเข้าข่ายไหม เอาง่ายๆ คนพาลชอบแก้ตัว คนบัณฑิตชอบคำชี้แนะ และทำตาม คนพาลยกตนข่มท่าน บัณฑิตถ่อมตัวเพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ การที่เราจะแยกแยะว่าใครเป็นพาลเป็นบัณฑิต คงต้องใช้เวลาศึกษากันพอสมควร อยากจะเรียนรู้ต้องเข้าไปศึกษา อยากจะทำเป็นต้องลงมือทำ แต่จะไปใกล้ชิดกับคนพาลเพื่อพิสูจน์นั้นหาควรไม่ เพราะถ้าใจไม่แข็งพออาจจะติดเชื้อได้ แต่ก็ไม่ยากเกินวิสัยของเราได้ ถ้าเรามีความเที่ยงธรรมพินิจพิจารณา ไม่เอาคติเข้ามาวิเคราะห์ และที่สำคัญต่อหมั่นสำรวจตัวเองว่าเรามีลักษณะของคนพาลอยู่หรือไม่ ถ้าเรามีลักษณะดังกล่าวนั้นก็ต้องรีบแก้ไข 
                ดังนั้นขอฝากไว้ สังคมที่วุ่นวายอยู่ทุกวันนี้เพราะคนดี หรือคนพาล? ทำเรื่องดี หรือเรื่องชั่ว? ให้สังคมตัดสิน แต่ขอย้ำนะ...ต้องเอาความถูกต้องที่อยู่บนพื้นของความถูกธรรม (พระธรรมวินัยเป็นหลัก) แล้วเมื่อนั้นเราจะไม่มีอคติส่วนตัวมาเป็นเครื่องตัดสิน

คนพาลที่รู้ตัวว่าเป็นคนพาล
ยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง

แต่คนพาลที่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
นั่นแหละ เรียกว่า คนพาลแท้